บันทึกการเรียน ครั้งที่  16
วันศุกร์ ที่  28  เมษายน 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • บทบาทของครู
         ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครูจัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียนให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
  1. เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  2. การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  1. การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  2. เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  3. ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  1. เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  2. ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  3. จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  4. ครูจดบันทึก
  5. ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  1. วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  2. คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  3. ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  4. เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  1. อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  2. ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  3. ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  4. เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  5. ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  1. ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  2. ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  1. ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  2. การให้โอกาสเด็ก
  3. เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  4. ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
2. ทักษะภาษา
  1. การวัดความสามารถทางภาษา
  2. เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  3. ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  4. ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  5. บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  6. ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  1. การพูดตกหล่น
  2. การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  3. ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  1. ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  2. ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
  3. อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  4. อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  5. ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  6. เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  1. ทักษะการรับรู้ภาษา
  2. การแสดงออกทางภาษา
  3. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  1. การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  2. ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  3. ให้เวลาเด็กได้พูด
  4. คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  5. เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  6. เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  7. ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  8. กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  9. เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  10. ใช้คำถามปลายเปิด
  11. เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  12. ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
  1. การกินอยู่
  2. การเข้าห้องน้ำ
  3. การแต่งตัว 
  4. กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  1. เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  2. อยากทำงานตามความสามารถ
  3. เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  1. การได้ทำด้วยตนเอง
  2. เชื่อมั่นในตนเอง
  3. เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
        ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”

จะช่วยเมื่อไหร่
  1. เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  2. หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  3. เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  4. มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม




ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  1. แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ 
  2. เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
  1. เข้าไปในห้องส้วม
  2. ดึงกางเกงลงมา
  3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  6. ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
 
สรุป
  1. ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  2. ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  3. ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  4. ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  5. เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
  1. การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  
  2. มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  3. เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
  4. พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  5. อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
  1. ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  2. จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  1. เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  2. เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  3. คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  1. ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
  2. ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  1. การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
  2. ต่อบล็อก
  3. ศิลปะ
  4. มุมบ้าน
  5. ช่วยเหลือตนเอง
 

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
  1. ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
  2. รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
  1. จากการสนทนา
  2. เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  3. แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  4. จำตัวละครในนิทาน
  5. จำชื่อครู เพื่อน
  6. เล่นเกมทายของที่หายไป
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  1. จัดกลุ่มเด็ก
  2. เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
  3. ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
  4. ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  5. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  6. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  7. บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  8. รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  9. มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  10. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  11. พูดในทางที่ดี
  12. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
  13. ทำบทเรียนให้สนุก
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนและใช้กับเด็กจริงๆได้
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  มีการจดบันทึก แต่คุยมากไปนิดหน่อย
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจดี
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาพร้อม
บันทึกการเรียน ครั้งที่  15
วันศุกร์ ที่  21  เมษายน  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"นักศึกษาเข้าค่ายฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสำรอง"
ณ ค่ากฐิน กุยยกานนทท์ 
จังหวัดสมุทรปราการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้ ไม่มีพื้นหลัง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  14
วันศุกร์ ที่  14  เมษายน  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"หยุดเนื่องในวันสงกรานต์"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้ ไม่มีพื้นหลัง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  13
วันศุกร์ ที่  7  เมษายน  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"อาจารย์ศึกษาดูงานที่จังหวัดเลย"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้ ไม่มีพื้นหลัง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  12
วันศุกร์ ที่  31 มีนาคม  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"อาจารย์ไปร่วมงานอภิธรรมศพ ณ วัดนวลจันทร์"

*****************
บันทึกการเรียน ครั้งที่  11
วันศุกร์ ที่  24  มีนาคม  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุดเน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  1. เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
  2. เกิดผลดีในระยะยาว 
  3. เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  4. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
  5. โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  1. การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน 
  2. (Activity of Daily Living Training)
  3. การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  4. การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
 3. การบำบัดทางเลือก
  1. การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  2. ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  3. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  4. การฝังเข็ม (Acupuncture)
  5. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

กิจกรรมมือของฉัน

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป
ภาพวาดมือของนรากุล
       โดยกิจกรรมนี้อาจารย์ให้วาดภาพลายมือของตนเองโดยที่ห้ามดูเด็ด  ให้ใช้ความจำและความคุ้นเคยเพราะมือเป็นส่ิงที่อยู่กับเราตลอด  จากน้ำให้เพื่อนทายว่าลายมือที่เห็นเป็นของใคร
  • การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC
  1. การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
  2. โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
  3. เครื่องโอภา (Communication Devices) 
  4. โปรแกรมปราศรัย
  5. Picture Exchange Communication System (PECS)

Picture Exchange Communication System (PECS)

ตัวอย่างภาพ  PECS
กิจกรรมใช้ภาพเพื่อสื่อความหมาย
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเทคนิคการสังเกตไปใช้ในชีวิตจริงได้ทั้งในวิชาน้ำและอื่นๆอีกด้วยและได้ความรู้ดีจากกิจกรรม
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  มีกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนานไม่น่าเบื่อ

บันทึกการเรียน ครั้งที่  10
วันศุกร์ ที่  17 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมวาดภาพดอกบัว


ในภาพอาจจะมี ดอกไม้
ผลงานของนรากุล
  • กิจกรรมวาดภาพดอกบัว  เป็นกิจกรรมที่ให้วาดภาพออกมาโดยมีองค์ประกอบครบถ้วนมากที่สุด(ไม่ต้องสวยก็ได้)  ซึ่งการวาดภาพให้ให้ได้ละเอียดนี้เปรียบเสมือนการสังเกตเด็กพิเศษที่ครูจะต้องสังเกตให้ดีครบถ้วนไม่คาดสายตาเพราะทุกๆพฤติกรรมมีความสำคัญอย่างมาก
รูปแบบการจัดการศึกษา
  1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
        เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  1. การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
  2. มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  3. ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  4. ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
  1. การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  2. เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
  3. เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
  1. การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
  2. เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  3. มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  4. เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  1. การศึกษาสำหรับทุกคน
  2. รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
  3. จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
  1. การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก 
  2. การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  3. กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ 
  4. เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
 "Inclusive Education is Education for all, 
It involves receiving people at the beginning of their education, 
with provision of additional services needed 
by each individual"

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
        เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา   เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
        เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน 
        ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
“สอนได้”
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
  1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
  2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
ครูทำอะไรบ้าง
        ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัยสังเกตเด็กอย่างมีระบบจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

        ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัยสังเกตเด็กอย่างมีระบบจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
การบันทึกการสังเกต
  1. การนับอย่างง่ายๆ
  2. การบันทึกต่อเนื่อง
  3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
  1. นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  2. กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  3. ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
  1. ให้รายละเอียดได้มาก
  2. เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  3. โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  1. บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  2. เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
  3. การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  4. ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  5. พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  1. ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  2. พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ตัวอย่างการบันทึกต่อเนื่อง
ตัวอย่างการบันทึกเป็นคำๆ
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเทคนิคๆต่างเกี่ยวกับการจัการชั้นเรียนไปใช้กับของจริงได้    
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจในการเรียน  มีการจดบันทึกและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลาย
บันทึกการเรียน ครั้งที่  9
วันศุกร์ ที่  10 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
     
        มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ  แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  1. ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
  2. ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
  3. ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
       
        ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
  1. ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  2. ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  3. กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  4. เอะอะและหยาบคาย
  5. หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  6. ใช้สารเสพติด
  7. หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
 ภาพวาดของเด็กที่มีอาการออทิสติก





        ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 

  1. จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
  2. ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  3. งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  4. สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  5. มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
  6. พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
  7. มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)

  1. หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  2. เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  3. ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)

  1. ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
  2. การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
  3. การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
  4. รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
  5. โรคอ้วน (Obesity) 
  6. ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

สาเหตุ

  1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
  2. ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
  1. ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
  2. รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
  3. มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
  4. มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
  5. แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
  6. มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
  1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) 
  2. เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD 
        เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 
  1. Inattentiveness
  2. Hyperactivity
  3. Impulsiveness
Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
  1. ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
  2. ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
  3. มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
  4. เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
  5. เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
  1. ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
  2. เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
  3. เหลียวซ้ายแลขวา 
  4. ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
  5. อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
  6. นั่งไม่ติดที่ 
  7. ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
  1. ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
  2. ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
  3. ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
  4. ไม่อยู่ในกติกา 
  5. ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
  6. พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
  7. ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
  1. ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
  2. เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
  3. ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
  4. พันธุกรรม
  5. สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  6. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
  7. สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )สมาธิสั้น (Attention Deficit )

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  1. อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
  2. ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
  3. ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  4. หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 
  5. เรียกร้องความสนใจ 
  6. อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า 
  7. ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
  8. ฝันกลางวัน 
  9. พูดเพ้อเจ้อ 
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 
  1. เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  2. เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
  3. เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
  4. เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอน  และทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆมากขึ้น
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจและสนใจในเนื้อหา  มีการจดบันทึก
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมความพร้อม  มีสื่อการสอนที่หลากหลาย  เช่น  vdo  ภาพ  เหตุการณ์จำลอง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  8
วันศุกร์ ที่  3  มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  (Children with Learning Disabilities)

        เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 
ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 

สาเหตุของ LD
        ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
        ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
  1. อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  2. อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  3. เดาคำเวลาอ่าน
  4. อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  5. อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  6. ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  7. ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  8. เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ



        ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  1. ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  2. เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  3. เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน   เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
  4. เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  5. เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  6. เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  7. จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
  8. สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  9. เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  10. เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  11. ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3. ด้านการคิดคำนวณ(Mathematic Disorder)
ตัวเลขผิดลำดับ
ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
        ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  1. ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
  2. นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  3. คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  4. จำสูตรคูณไม่ได้
  5. เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
  6. ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
  7. ตีโจทย์เลขไม่ออก
  8. คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  9. ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
ทำงานช้า
       อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD 
  1. การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  2. ฟังคำสั่งสับสน
  3. คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  4. ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  5. ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  6. ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  7. ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
7. ออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 



        เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

        ลักษณะของเด็กออทิสติก
  1. อยู่ในโลกของตนเอง
  2. ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
  4. ไม่ยอมพูด
  5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
  1. ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
  2. ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  3. ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
  4. ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
  1. มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  2. ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  3. พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  4. ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
  1. มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  2. มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  3. มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
  4. สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
พฤติกรมการทำซ้ำ
  1. นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  2. นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  3. วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  4. ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
  1. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  2. การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  3. การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
***ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้

ออทิสติกเทียม
  1. ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
  2. ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
  3. ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
  1. กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)      จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
  2. กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)     จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับเด็กพิเศษได้  ทั้งการเข้าใจ  การดูแลเอาใจใส่    
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจ  และมีการจดบันทึก
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจ  มีการจดบันทึกและตอบคำถามอาจารย์
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมในการเรียนการสอนมีภาพประกอบ
บันทึกการเรียน ครั้งที่  7
วันศุกร์ ที่  24  กุมภาพันธ์  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"สอบกลางภาคเรียน"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้ ไม่มีพื้นหลัง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  6
วันศุกร์ ที่  17  กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"ศึกษาดูงานเด็กพิเศษ ณ โรงเรียน เกษมพิทยา"

กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติและออกกำลังกาย







อบรมก่อนก่อนเข้าสังเกตุเด็กพิเศษ
โดย ดร.วรนาท รักสกุลไทย




การปิดโปรเจค  เรือ  ของชั้นอนุบาล2/2











การนำไปประยุกต์ใช้
  • การมาสังเกตเด็กพิเศษในครั้งนี้ทำให้ได้เห็นพฤติกรรมจริงของเด็กพิเศษซึ่งจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนได้  และทำให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น 
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจในการสังเกต  มีการจดบันทึก  และสอบถามพูดคุยกับครูประจำชั้นและเด็ก
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆมีความตั้งใจและสนใจเป็นอย่างดี 
  • ประเมินอาจารย์   อาจารย์ให้คำปรึกษาได้เป็นอย่างดีมีการจัดเตรียมที่ดีทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ



บันทึกการเรียน ครั้งที่  5
วันศุกร์ ที่  10  กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

" เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดมารยาท คณะศึกษาศาสตร์ "

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้ ไม่มีพื้นหลัง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  4
วันศุกร์ ที่  3  กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"อาจารย์ศึกษาดูงาน ที่ มหาวิายาลัยราชภัฏนครราชสีมา"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกไม้ ไม่มีพื้นหลัง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  3
วันศุกร์ ที่  27 มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
        - เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด


1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)

  1. เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
  2. ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
  3. เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
  4. เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"

2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)

  1. พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
  2. การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
  3. อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
  4. จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
  5. เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย

3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)

  1. ความบกพร่องของระดับเสียง
  2. เสียงดังหรือค่อยเกินไป
  3. คุณภาพของเสียงไม่ดี

        - ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  

  1. มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
  2. มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
  3. ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  4. มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
  5. ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง เรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia

  1. อ่านไม่ออก (alexia) 
  2. เขียนไม่ได้ (agraphia ) 
  3. สะกดคำไม่ได้
  4. ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  5. จำคำหรือประโยคไม่ได้
  6. ไม่เข้าใจคำสั่ง
  7. พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้

Gerstmann’s syndrome 

  1. ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) 
  2. ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) 
  3. คำนวณไม่ได้ (acalculia) 
  4. เขียนไม่ได้ (agraphia) 
  5. อ่านไม่ออก (alexia) 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา 

  1. ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง 
  2. ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน 
  3. ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ 
  4. หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก 
  5. ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ 
  6. หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา 
  7. มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก 
  8. ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย 


5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(Children with Physical and Health Impairments) 
 


  1. เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน 
  2. อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป 
  3. เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
  4. มีปัญหาทางระบบประสาท
  5. มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
  6. โรคลมชัก (Epilepsy)
  7. เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
  8. มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน

โรคลมชัก (Epilepsy)
        เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง

มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน

1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก 
เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย

2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง 
เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู

3.อาการชักแบบ Partial Complex
มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
เหม่อนิ่ง 
เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก

4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว 
อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก

5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น 
 
      ***การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก

  1. จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
  2. ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
  3. หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
  4. ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
  5. จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
  6. ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
  7. ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

ซี.พี. (Cerebral Palsy)

        การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด 
การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน 

1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) 
เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว 
เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ 
จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม 

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) 

  1. ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) 
  2. เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง 
  3. เศษกระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
  4. โปลิโอ (Poliomyelitis) 
  5. มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
  6. ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 

  1. มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว 
  2. ท่าเดินคล้ายกรรไกร
  3. เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
  4. ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ 
  5. มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง 
  6. หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว 
  7. หกล้มบ่อย ๆ
  8. หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ
ตัวอย่างพฤติกรรม  อาการชักเกร็ง
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูอาการของเด็กและแยกประเภทของอาการต่างๆได้     
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  มีการจดบันทึก  ตอบคำถาม  และตั้งใจ  
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการยกตัวอย่างทำให้ได้เห็นภาพและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

บันทึกการเรียน ครั้งที่  2
วันศุกร์ ที่  20  มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา  เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”

เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)  
        เป็นเด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ  
        พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกันสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม มีเหตุผลในการแก้ปัญหาการใช้สามัญสำนึกจดจำได้รวดเร็วและแม่นยำมีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัยมีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆเป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
ความแตกต่างของเด็กฉลาดกับเด็กGifted

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง


  1. ทางสติปัญญา 
  2. ทางการได้ยิน 
  3. ทางการเห็น 
  4. ทางร่างกายและสุขภาพ 
  5. ทางการพูดและภาษา 
  6. ทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
  7. ทางการเรียนรู้ 
  8.  เด็กออทิสติก 
  9.  เด็กพิการซ้อน 


  • 1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)

เด็กเรียนช้า 
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ 
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้ 
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย 

- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 
สาเหตุของการเรียนช้า
       1. ภายนอก
เศรษฐกิจของครอบครัว
การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
       2. ภายใน
พัฒนาการช้า
การเจ็บป่วย
ตัวอย่าง:เด็กปัญญาอ่อน
เด็กปัญญาอ่อน - ระดับสติปัญญาต่ำ 
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย 
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18 
พฤติกรรมการปรับตน
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย 
ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น

2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)

3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 
สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ 
เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 
สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ 
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded) 

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
    -ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
    -ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
    -ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
    -ทำงานช้า
    -รุนแรง ไม่มีเหตุผล
    -อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
    -ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
เด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม
สาเหตุ

  1. ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 
  2. ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)

อาการ

  1. ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น 
  2. หน้าแบน ดั้งจมูกแบน 
  3. ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก 
  4. ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
  5. เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต 
  6. ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ 
  7. มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น 
  8. เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 
  9. ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง 
  10. มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
  11. บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  12. อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
  13. มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
  14. อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง

การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์

  1. การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์ 
  2. อัลตราซาวด์  
  3. การตัดชิ้นเนื้อรก
  4. การเจาะน้ำคร่ำ  


  • 2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired ) 

        หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 

เด็กหูตึง
     1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ 
     2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้   
มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
     3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB   
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด   
เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน   
มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน   
มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ    
พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด   
      4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB   
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก   
ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต   
การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง   
เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง   
เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
      
เด็กหูหนวก  
     เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน  

  1. เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้   
  2. ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้    
  3. ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
  4. ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  5. ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  6. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  7. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  8. พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  9. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  10. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  11. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  12. มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย


  • 3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)

เด็กตาบอด   

  1. เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง   
  2. ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้   
  3. มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท   
  4. มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

เด็กตาบอดไม่สนิท 

  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา   
  2. สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ   
  3. เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น  
  4. มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น

  1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  2. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  3. มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  4. ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  5. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  6. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  7. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต


จำลองเหตุการณ์เด็กหูหนวก
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้ทำให้เกิดความเข้าใจเด็กพิเศษมากยิ่งขึ้น
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน  มีการจดเนื้อหา  ได้ออกไปแสดงเหตุการณ์จำลองด้วย
  • ประเมินเพื่อน เพื่อนมีความตั้งใจเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์เตรียมเนื้อหาและอุปกรณ์มาอย่างดี  มีภาพและเหตุการณ์ให้รับชม