บันทึกการเรียน ครั้งที่  12
วันศุกร์ ที่  31 มีนาคม  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

"อาจารย์ไปร่วมงานอภิธรรมศพ ณ วัดนวลจันทร์"

*****************
บันทึกการเรียน ครั้งที่  11
วันศุกร์ ที่  24  มีนาคม  2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุดเน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  1. เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
  2. เกิดผลดีในระยะยาว 
  3. เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  4. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
  5. โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  1. การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน 
  2. (Activity of Daily Living Training)
  3. การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  4. การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
 3. การบำบัดทางเลือก
  1. การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  2. ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  3. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  4. การฝังเข็ม (Acupuncture)
  5. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

กิจกรรมมือของฉัน

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป
ภาพวาดมือของนรากุล
       โดยกิจกรรมนี้อาจารย์ให้วาดภาพลายมือของตนเองโดยที่ห้ามดูเด็ด  ให้ใช้ความจำและความคุ้นเคยเพราะมือเป็นส่ิงที่อยู่กับเราตลอด  จากน้ำให้เพื่อนทายว่าลายมือที่เห็นเป็นของใคร
  • การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC
  1. การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
  2. โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
  3. เครื่องโอภา (Communication Devices) 
  4. โปรแกรมปราศรัย
  5. Picture Exchange Communication System (PECS)

Picture Exchange Communication System (PECS)

ตัวอย่างภาพ  PECS
กิจกรรมใช้ภาพเพื่อสื่อความหมาย
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเทคนิคการสังเกตไปใช้ในชีวิตจริงได้ทั้งในวิชาน้ำและอื่นๆอีกด้วยและได้ความรู้ดีจากกิจกรรม
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  มีกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนานไม่น่าเบื่อ

บันทึกการเรียน ครั้งที่  10
วันศุกร์ ที่  17 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมวาดภาพดอกบัว


ในภาพอาจจะมี ดอกไม้
ผลงานของนรากุล
  • กิจกรรมวาดภาพดอกบัว  เป็นกิจกรรมที่ให้วาดภาพออกมาโดยมีองค์ประกอบครบถ้วนมากที่สุด(ไม่ต้องสวยก็ได้)  ซึ่งการวาดภาพให้ให้ได้ละเอียดนี้เปรียบเสมือนการสังเกตเด็กพิเศษที่ครูจะต้องสังเกตให้ดีครบถ้วนไม่คาดสายตาเพราะทุกๆพฤติกรรมมีความสำคัญอย่างมาก
รูปแบบการจัดการศึกษา
  1. การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  2. การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  3. การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  4. การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
        เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  1. การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป 
  2. มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
  3. ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
  4. ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
  1. การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
  2. เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
  3. เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) 
  1. การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
  2. เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
  3. มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
  4. เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  1. การศึกษาสำหรับทุกคน
  2. รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
  3. จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
  1. การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก 
  2. การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  3. กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ 
  4. เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
 "Inclusive Education is Education for all, 
It involves receiving people at the beginning of their education, 
with provision of additional services needed 
by each individual"

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
        เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา   เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
        เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน 
        ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
“สอนได้”
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
  1. ครูไม่ควรวินิจฉัย
  2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
ครูทำอะไรบ้าง
        ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัยสังเกตเด็กอย่างมีระบบจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

        ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัยสังเกตเด็กอย่างมีระบบจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
การบันทึกการสังเกต
  1. การนับอย่างง่ายๆ
  2. การบันทึกต่อเนื่อง
  3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
  1. นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  2. กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  3. ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
  1. ให้รายละเอียดได้มาก
  2. เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  3. โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  1. บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  2. เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
  3. การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  4. ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  5. พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
  1. ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  2. พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ตัวอย่างการบันทึกต่อเนื่อง
ตัวอย่างการบันทึกเป็นคำๆ
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเทคนิคๆต่างเกี่ยวกับการจัการชั้นเรียนไปใช้กับของจริงได้    
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจในการเรียน  มีการจดบันทึกและทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลาย
บันทึกการเรียน ครั้งที่  9
วันศุกร์ ที่  10 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

  • ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
     
        มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ  แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  1. ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
  2. ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
  3. ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
       
        ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
  1. ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  2. ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  3. กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  4. เอะอะและหยาบคาย
  5. หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  6. ใช้สารเสพติด
  7. หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
 ภาพวาดของเด็กที่มีอาการออทิสติก





        ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 

  1. จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
  2. ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  3. งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  4. สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  5. มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
  6. พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
  7. มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)

  1. หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  2. เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  3. ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)

  1. ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
  2. การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
  3. การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
  4. รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
  5. โรคอ้วน (Obesity) 
  6. ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

สาเหตุ

  1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
  2. ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
  1. ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
  2. รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
  3. มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
  4. มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
  5. แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
  6. มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
  1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) 
  2. เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD 
        เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 
  1. Inattentiveness
  2. Hyperactivity
  3. Impulsiveness
Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
  1. ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
  2. ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
  3. มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
  4. เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
  5. เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
  1. ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
  2. เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
  3. เหลียวซ้ายแลขวา 
  4. ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
  5. อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
  6. นั่งไม่ติดที่ 
  7. ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
  1. ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
  2. ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
  3. ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
  4. ไม่อยู่ในกติกา 
  5. ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
  6. พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
  7. ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
  1. ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
  2. เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
  3. ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
  4. พันธุกรรม
  5. สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  6. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
  7. สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )สมาธิสั้น (Attention Deficit )

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  1. อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
  2. ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
  3. ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  4. หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 
  5. เรียกร้องความสนใจ 
  6. อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า 
  7. ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
  8. ฝันกลางวัน 
  9. พูดเพ้อเจ้อ 
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 
  1. เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  2. เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
  3. เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
  4. เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอน  และทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆมากขึ้น
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจและสนใจในเนื้อหา  มีการจดบันทึก
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมความพร้อม  มีสื่อการสอนที่หลากหลาย  เช่น  vdo  ภาพ  เหตุการณ์จำลอง
บันทึกการเรียน ครั้งที่  8
วันศุกร์ ที่  3  มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  (Children with Learning Disabilities)

        เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 
ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 

สาเหตุของ LD
        ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
        ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
  1. อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  2. อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  3. เดาคำเวลาอ่าน
  4. อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  5. อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  6. ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  7. ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  8. เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ



        ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  1. ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  2. เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  3. เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน   เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
  4. เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  5. เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  6. เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  7. จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
  8. สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  9. เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  10. เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  11. ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3. ด้านการคิดคำนวณ(Mathematic Disorder)
ตัวเลขผิดลำดับ
ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
        ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  1. ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
  2. นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  3. คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  4. จำสูตรคูณไม่ได้
  5. เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
  6. ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
  7. ตีโจทย์เลขไม่ออก
  8. คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  9. ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
ทำงานช้า
       อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD 
  1. การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  2. ฟังคำสั่งสับสน
  3. คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  4. ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  5. ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  6. ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  7. ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
7. ออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 



        เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

        ลักษณะของเด็กออทิสติก
  1. อยู่ในโลกของตนเอง
  2. ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
  4. ไม่ยอมพูด
  5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
  1. ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
  2. ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  3. ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
  4. ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
  1. มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  2. ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  3. พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  4. ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
  1. มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  2. มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  3. มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
  4. สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
พฤติกรมการทำซ้ำ
  1. นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  2. นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  3. วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  4. ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
  1. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  2. การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  3. การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
***ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้

ออทิสติกเทียม
  1. ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
  2. ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
  3. ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
  1. กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)      จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
  2. กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)     จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับเด็กพิเศษได้  ทั้งการเข้าใจ  การดูแลเอาใจใส่    
การประเมิน
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจ  และมีการจดบันทึก
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจ  มีการจดบันทึกและตอบคำถามอาจารย์
  • ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมในการเรียนการสอนมีภาพประกอบ